เครื่องจักสานด้วยหวาย ปิยะชัย สายหยุด 5903410


เครื่องจักสานหวาย 



          เครื่องจักสานแบ่งเป็นกี่ประเภท 
หวายเป็นพันธ์ไม้ที่ขึ้นอยู่เป็นกอ มีใบเรียวยาวผิวเกลี้ยง เนื้อเหนียว และยืดหยุ่นได้ดีกว่าวัสดุอื่นๆทำให้สามารถจักหรือตอกเป็นเส้นหรือแผ่นบางๆ ได้ง่ายการนำหวายไปทำเครื่องใช้จะมีตั้งแต่ตะกร้าหรือกระบุงที่จะใช้หวายเพียงอย่างเดียวไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่อย่างโต๊ะหรือเก้าอี้ที่จะมีการใช้หวายร่วมกับวัสดุอื่นๆอย่างไม้ไผ่หรือใบตาล



ลักษณะของต้นหวาย 
ลักษณะที่ดีเด่นของหวาย เป็นพืชทนแล้งได้ดี อีกทั้งยอดอ่อนของหวายนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด ยอดใหม่ที่แทงขึ้นมา มีลักษณะคล้ายยอดมะพร้าว ถ้าไม่ตัดออกขาย จะเลื้อยเป็นเครือยาว ลำต้นและกาบใบมีหนาม รากเป็นระบบรากแขนง ดอกช่อประกอบด้วยกลุ่มแขนงช่อดอก ดอกไม่สมบูรณ์เพศ จะสร้างช่อดอกออกจากลำต้นส่วนที่มีกาบหุ้ม เปลือกผลมีลักษณะเป็นเกล็ดซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ ผลค่อนข้างกลม ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีขาว



หมู่บ้านตัวอย่างผลิตเครื่องจักสานในภาคกลาง
จากทั้งหมดจะเห็นได้ว่าเครื่องจักสานมีมาแต่โบราณและยังมีการอนุรักษ์การผลิตและการทำเอาไว้ให้เราได้ศึกษาและเครื่องจักสานไม่ได้มีประโยชน์แค่การใช้สอยแต่ยังมีประโยชน์ในด้านของราคาที่ลดลงกว่าอุปกรณ์ประเภทเดียวกันในปัจจุบัน และยังมีอายุการใช้งานที่นานเพราะหวายมีความคงทนสูงและในปัจจุบันยังมีแหล่งของการผลิตเครื่องจักสานมากมาย ยกตัวอย่างเช่นในบ้านบางเจ้าฉ่า ตั้งอยู่หมู่ ๘ บ้านยางทอง ตำบลบางเจ้าฉ่า จังหวัดอ่างทอง นอกจากจะมีการขายเครื่องจักสานหลายชนิดแล้วยังมีการ ทำให้ดูและการสอน และยังมีการกระจายให้กลุ่มลูกบ้านในตำบล มีรายได้โดยการสอนให้คนในชุมชนให้ผลิตเครื่องจักสานด้วยหวายได้ด้วยตนเอง ถ้าหากต้องการเรียนรู้ที่ตำบลบ้านบางเจ้าฉ่าตั้งอยู่หมู่ ๘ บ้านยางทอง ตำบลบางเจ้าฉ่าก็จะมีการสอนด้วย 
ลักษณะของต้นหวาย  [ออนไลน์]เข้าถึงได้จาก  https://sites.google.com/site/nilakhrabtnmi/tn-hway (สืบค้นวันที่ 28มกราคม 2562 )

          เครื่องจักสานเป็นหัตถกรรมที่มีคุณค่าในตัวเองเพราะใช้วัตถุดิบซึ่งมีความงามตามธรรมชาติ ในด้านคุณค่าทางศิลปหัตถกรรมเครื่องจักสานทำขึ้นด้วยมือซึ่งต่างจากผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโรงงานจึงมีคุณค่าเฉพาะตัวในแต่ละชิ้นลวดลายจากการสาน สอด ทอ ถัก และรูปแบบเครื่องจักสานแสดงถึงลักษณะพื้นเมือง พื้นบ้านที่แตกต่างกัน เครื่องจักสานคือภาชนะ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ทำขึ้นจากวิธีการ จัก สาน ถัก ทอจากวัสดุที่มีอยู่ตามท้องถิ่นทั่วไป เช่น หวาย ไม้ไผ่ ใบลาน กก ฟาง ก้าน และใบมะพร้าว เป็นต้น เครื่องจักสานเป็นหัตถกรรมที่สันนิษฐานว่าเก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ เพราะทำขึ้นจากวัสดุที่หาง่าย หลักฐานที่ขุดพบจากเครื่องมือ เครื่องใช้ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์พอจะยืนยันได้ว่า มนุษย์รู้จักทำเครื่องจักสานมานานและเก่าแก่กว่าหัตถกรรมอื่น ๆ ตามประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัย ปรากฏว่ามีเครื่องจักสานชนิดหนึ่งที่พระร่วงทรงคิดขึ้นสำหรับใส่น้ำส่งส่วยให้ขอมเป็นภาชนะจักสานขึ้นด้วยชัน น้ำไม่รั่วเรียกว่ากระออมครุ
      


 ลักษณะที่โดดเด่นของจักสานหวายคือ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหวายที่มีความละเอียดลวดลายแบบไทยๆ ประณีต สวยงานสืบสานภูมิปัญญาจากรุ่นปู่ย่าตายาย
ชนิดที่คนนิยมมาทำเครื่องจักสาน
1.ไผ่ 
2.หวาย
3.กก
4.ก้านมะพร้าว
5.ใบลานและใบตาล
6.แหย่ง
7.ย่านลิเภา
8.กระจูด
9.เตยทะเล
10.ลำเจียก

                              



  ต้นหวาย

   หวายนับว่าเป็นพืชในตระกูลพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตามธรรมชาติ ที่พบในป่าธรรมชาติตามชนบทมีหนามแหลม ทั้งส่วนของกาบใบ ขอบใบ เส้นกลางใบ จะมีลักษณะเป็นไขผงสีขาตาม กาบใบมีเนื้อหนา ใช้เมล็ดทำพันธุ์ ใบมีสีเขียวเจริญเติบโตได้ ตลอดทั้งปี มีรากจำนวนมากจึงสามารถหาอาหารและน้ำได้เองการเก็บเกี่ยว จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อหวายมีอายุ 10 - 14 เดือน หลังย้ายลงปลูกในแปลง โดยจะตัด 2 - 3 อาทิตย์ต่อครั้ง
ลักษณะโดดเด่นของเครื่องจักสานคือ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหวายที่มีความละเอียดลวดลายแบบไทยๆประณีต สวยงามสืบสานภูมิปัญญาจากรุ่นปู่ย่าตายาย

หมู่บ้านจักสาน งานฝีมือจักสานอันลือชื่อของอ่างทองส่วนมากจะเป็นฝีมือของชาวอำเภอโพธิ์ทองแทบทุกครัวเรือนที่ตั้งบ้านเรือนเรียงรายอยู่ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในละแวกเดียวกัน มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มการผลิตเครื่องจักสาน เครื่องหวาย กลุ่มจักสานไม้ไผ่ เช่น กลุ่มตำบลองครักษ์ กลุ่มตำบลบางเจ้าฉ่า กลุ่มตำบลบางระกำ กลุ่มตำบลพลับ และกลุ่มตำบลอินทประมูล 
แหล่งหัตถกรรมเครื่องจักสานสำคัญที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอ่างทอง คือ "บ้านบางเจ้าฉ่า” ตั้งอยู่หมู่ ๘ บ้านยางทอง ตำบลบางเจ้าฉ่า เป็นชุมชนที่มีมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่นี่เป็นแหล่งผลิตเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินมาเยือนและได้พระราชทานคำแนะนำให้ราษฎรปลูกไม้ไผ่สีสุก เพื่อเป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องจักสานและเป็นการอนุรักษ์งานฝีมือประเภทนี้ไว้ งานจักสานของบ้านบางเจ้าฉ่านี้มีความละเอียดประณีตสวยงามสามารถพัฒนางานฝีมือตามความต้องการของตลาด ไม่ยึดติดกับรูปแบบเก่าจนสามารถส่งออกขายต่างประเทศได้ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการพัฒนาอาชีพ 


คุณค่าของเครื่องจักสาน 
ดังกล่าวแล้วจะเห็นว่าเครื่องจักสานไทยในภาคต่างๆนั้นมีมากมาหลายชนิดและมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่แตกต่างกันไป ลักษณะเพาะถิ่นของเครื่องจักสานเหล่านั้นสะท้อนให้เห็นสภาพภูมิศาสตร์แต่ละท้องถิ่น สภาพการดำรงชีวิต ขนบประเพณีความเชื่อ ตลอดจนถึงการนับถือศาสนาของกลุ่มชน ที่ผลิตเครื่องจักสาน เครื่องจักสานจึงเปนศลิปะหัตถกรรม มีคุณค่าในฐานะที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ได้ดีอย่างนึง นอกจากนี้เครื่องจักสานยังเป็นงานศิลปะหัตถกรรม ที่สะท้อนให้เห็นภูมิปัยญาของชาวบ้านได้หลายอย่าง ช่นการสะท้อนให้เห็นความชาญฉลาด ในการเลือกสรรวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ทำจักสาน ซึ่งชาวบ้านจะมีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของขวัตถุดิบแต่ละชนิดเป็นอย่างดีแล้วนำมาดัดแปลงแปรรูปเป็นวัสดุที่ใช้ทำเครื่องจักสานด้วยวิธีง่ายๆแต่สนองการใช้สอยได้ดีเช่นชาวบ้านภาคใต้นำใบลำเจียกก หรือใบปาหนันมาจักสานเป็นเสื่อและกระสอบ โดยนำใบลำเจียกไปลนไฟให้ใบนิ่มก่อนที่จะจักเป็นเส้นหรือนำต้นลำเจียกไปแช่โคลนแล้วรีดให้แบนหรือการจักไม้ไผ่เป็นดอกแบบ                                                                                   ต่างๆให้เหมาะสมที่จะให้สานเครื่องจักสานแต่ละชนิด




บรรณานุกรม/อ้างอิง 
เครื่องจักสานหวาย [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://souvenirbuu.wordpress.com (สืบค้นวันที่ 28มกราคม 2562 )

ประเภทของเครื่องจักสาน [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://souvenirbuu.wordpress.com (สืบค้นวันที่ 28 มกราคม 2562)

หมู่บ้านตัวอย่างผลิตเครื่องจักสานในภาคกลาง https://www.m-culture.go.th/angthong/ewt_news.php?nid=472 (สืบค้นวันที่ 28 มกราคม 2562 )

คุณค่าของเครื่องจักสาน  [ออนไลน์] https://www.m-culture.go.th/angthong/ewt_news.php?nid=472 (สืบค้นวันที่ 28 มกราคม 2562) 




Creative Commons License

ความคิดเห็น